107 Moo 2 Maehee Pai Maehongson Thailand 58130

About Us

ประวัติความเป็นมา

อ.เกษตรสมบูรณ์ ตั้งเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2481 มีขุนนิกรนันทกิจ (อ๊าด วัฒนสุข) เป็นนายอำเภอคนแรก โดยมีประวัติความเป็นมาของผู้ก่อตั้งเมืองดังต่อไปนี้

ประวัติพระไกรสิงหนาท
พระไกรสิงหนาทเป็นเจ้าเมืองเกษตรสมบูรณ์คนแรก ปรากฏจากหลักฐานหอจดหมายเหตุในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในรัชกาลพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ มีหลวงสิงหนาท เป็นคนเชื้อชาติลาวเป็นเจ้าเมืองได้ปกครองเมืองเกษตรสมบูรณ์

สมัยนั้นชื่อเมืองภูเขียวขึ้นตรงต่อกรุงรัตนโกสินทร์ หลวงไกรสิงหนาทเป็นผู้มีความสามารถและซื่อสัตย์ต่อพระเจ้ากรุงสยาม พ.ศ.๒๓๕๒ (ร.ศ.๒๘) ท่านจับช้างได้พลายพังสูงใหญ่ รูปงามถูกถ้วนตามราชคชลักษณ์ ท่านได้นำทูลเกล้าฯถวายขึ้นระวางเป็นช้างศึกประจำกองทัพหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงปูนบำเหน็จความชอบให้เป็น “พระไกรสิงหนาท” (คนที่ 1)

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 เมืองเกษตรสมบูรณ์ ได้ย้ายไปตั้งหลายแห่ง เช่น ต.คูเมือง อ.หนองบัวแดง บ้านลาด บ้านโนนเสลา อ.ภูเขียว บ้านเมืองเก่า และบ้านยาง อ.เกษตรสมบูรณ์ ในปัจจุบัน เพื่อความสุขสมบูรณ์ของไพร่พล ได้ทำการขุดทองคำแล้วนำทูลเกล้าฯถวายพระเจ้ากรุงสยาม อีกทั้งยังมีการส่งส่วยไปราชอาณาจักรลาวด้วย เรียกว่า “ส่วยผ้าขาวลาวเวียงจันทร์” ในช่วง พ.ศ.๒๓๖๖ พระไกรสิงหนาท ไม่มีบุตรธิดา เมื่อชราภาพจึงได้นำใบบอกให้นาย ฦๅชา ผู้เป็นหลานชายที่มีความสามารถเป็นผู้ปกครองเมืองแทน

ต่อมานายฦๅชา ได้ทำความดีความชอบ จึงได้รับการปูนบำเหน็จความชอบได้บรรดาศักดิ์เป็น “พระไกรสิงหนาท” (คนที่ ๒) มีบุตร 3 คนคือ ท้าวบุญมา ท้าวบุญคง และท้าวบุญจันทร์ ท่านจับช้างเผือกสีประหลาดได้เชือกหนึ่ง ได้ทูลเกล้าถวายพระเจ้ากรุงสยาม ด้วยความชอบนี้จึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาภักดี ฦๅชัย จางวาง ประกอบกับท่านชราภาพจึงนำใบบอกไปยังพระเจ้ากรุงสยาม(บุตรชาย) ปกครองเมืองแทน เป็น “พระไกรสิงหนาท” (คนที่ ๓) มีบุตรธิดาหลายคน คือ นายนรนิล นายเลิศ นางคำไส นางวันทอง นายบุญ และร้อยเอกหลวงสมร ไกรวิชิต

อนึ่งเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เป็นกบฏ ได้ยกทัพไปตีกรุงเทพมหานคร โดยยกทัพผ่านเมืองภูเขียว เมืองชัยภูมิ เมืองสี่มุม(จัตุรัส) เกลี้ยกล่อมให้เจ้าเมืองทั้งสามช่วยทัพไปตีกรุงเทพฯ ด้วย แต่เจ้าเมืองภูเขียว คือพระไกรสิงหนาท และเจ้าเมืองชัยภูมิ คือพระยาภักดีชุมพล(แล) ไม่ยอมเข้าศึกด้วย เมื่อเจ้าอนุวงศ์ฯ ถอยทัพกลับเวียงจันทร์แล้ว ได้สั้งเจ้าสุทธิสาร(โป้) ราชบุตรเชิญเจ้าเมืองทั้งสองไปพบ เมื่อถึงใฟให้ประหารชีวิตพระไกรสิงหนาทและพระยาภักดีชุมพล พร้อมกรมการเมือง เมื่อวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๖๙ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ได้มีการปฏิรูปการปกครองแบบใหม่ กิ่งอำเภอบ้านยาง ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ ชื่อว่าอำเภอเกษตรสมบูรณ์ เมื่อวันที่ ๑ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๓๘๑ ปี พ.ศ.๒๔๖๐

ทางราชการมีพระราชบัญญัติให้ใช้นามสกุล นายเลิศ ผู้เป็นบุติพระไกรสิงหนาท(คนที่ ๓) ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง เป็นปลัดหัวหน้ากิ่งอำเภอบ้านยาง จึงได้ขอพระราชทานขอใช้นามสกุล “ฦๅชา” เพื่อเป็นที่ระลึกแก่นาย “ฦๅชา” หรือพระไกรสิงหนาทคนที่ 2 เพื่อเป็นต้นตระกูล ฦๅชา และได้รับพระราชทานใช้นามสกุล “ฦๅชา” มาจนถึงปัจจุบัน

Ruecha Family Doungsuda Ruecha(Doung inchaingmai)

Ruecha หรือ ฤาชา เด็กรุ่นใหม่ที่อาจจะยังไม่รู้แต่มีคำอธิบาย... ฤาชาเป็นนามสกุลของเจ้าเมืองภูเขียวสมัยก่อนแต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองยกเลิกการเป็นเจ้าเมือง

พ่อของปู่ซึ่งเป็นลูกชายของเจ้าเมืองมีช้างเป็นพาหนะและอพยพลูกหลานมาตั้งรกรากที่โคราชสัญญกลักษณ์ประจำตระกูลนี้คือจะมีช้างประจำตระกูลเพราะสมัยก่อนเจ้าเมืองจะมีช้างเป็นพาหนะ แต่ก็มีบ้างที่ยังอยู่ที่เดิมคือชัยภูมิและญาติก็มีแยกไปแถว ลำปาง เพชรบูรณ์แต่เดี๋ยวนี้ช้างจะหายไปแต่ก็มีลูกหลานที่ยังอนุรักษ์ไว้ให้ดูได้อยู่ที่ปาย แม่ฮ่องสอน ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับแนวหน้าของไทย และติดอันดับใน guide book ที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกรู้จักกันดี คือ thom,pai elephant camp ผู้สืบทอดของตระกูลคือคุณ thom Ruecha ซึ่งจัดอยู่ใน generation 4 หรือยุคที่ 4 ของตระกูลและยังมี แยกออกไปอีกคือ noy elephant camp,twin elephant camp ซึ่งเป็นเครือญาติ หรือถ้าท่านอยากรู้เพิ่มเติมเข้าดูได้ที่ www.thomelephantcamp.com เข้ากุเกิลแล้วพิมพ์คำว่า thom elephant camp ก็ได้แบบง่ายๆๆ

ดวงสุดา ฤาชาก็เป็นหนึ่งในตระกูลนี้ที่ทำงานร่วมกับคุณทมค่ะ ไม่ได้มีจุดประสงค์อะไรมากนักแค่อยากรู้ว่ามีญาติอยู่ที่ไหน แค่นั้นเอง แต่เราสายตรงมาจากโคราชค่ะ ข้อมูลไม่ได้มาแบบมั่วแต่ญาติทางบ้านค่าย ชัยภูมิซึ่งเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนภูแลนคาวิทยาคมเป็นคนไปค้นหาประวัติมาได้เล่าให้ฟังค่ะ ช้างของตระกูลยังอยู่ค่ะ ชื่อพนม แต่แกแก่มากแล้ว แต่คุณทมก็ดูแลอย่างดีค่ะ